วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เทคโนโลยี




3G หรือ Third Generation
เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต
3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น
เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี

3G น่าสนใจอย่างไร
จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น
3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว “Always On”

คุณสมบัติหลักของ 3G คือ
มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล
ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC

แหล่งท่องเที่ยวในอำเภอฝาง


น้ำตกโป่งน้ำดัง

ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง เป็นน้ำตกหินปูนขนาดเล็กที่สวยงามมีการไหลของน้ำที่สม่ำเสมอ ชั้นบนสุดมีความสูงกว่า 10 เมตร บริเวณน้ำตกมีถ้ำขนาดเล็กๆ พอให้คนเข้าไปนั่งเล่นได้ 3-4 คน เพดานถ้ำมีน้ำหยดตลอดเวลาและเกิดเป็นหินงอกเล็กๆ ไปทั่ว ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มฝ.3 (น้ำตกโป่งน้ำดัง) บ้านแม่สูนน้อย ตำบลแม่สูน อำเภอฝาง ต้องเดินตามเส้นทางเดินป่าไปสู่น้ำตก ระยะทางไป-กลับ ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ระหว่างทางผ่านป่าดิบแล้งที่ร่มครึ้มด้วยไม้ใหญ่ บางช่วงต้องเดินข้ามลำธารที่มีน้ำใสไหลเย็น

กิจกรรม - ชมพรรณไม้ - ดูผีเสื้อ - เดินป่าศึกษาธรรมชาติ - เที่ยวน้ำตก

แผนจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ศ.16101) ประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ เวลา 10 ชั่วโมง
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สีคู่ตรงข้าม เวลา 2 ชั่วโมง
...........................................................................................................................................................
1. มาตรฐาน
ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2. ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ป 6/1 ระบุสีคู่ตรงข้าม และอภิปรายเกี่ยวกับการใช้สีคู่ตรงข้ามในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์

3. สาระสำคัญ
สีคู่ตรงข้ามในการจัดองค์ประกอบศิลป์

4. สาระการเรียนรู้
สีคู่ตรงข้าม และการสร้างสรรค์โดยใช้สีคูตรงข้าม

5. จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนเรียนเรื่อง สีคู่ตรงข้ามคืออะไร นักเรียนสามารถ
5.1 บอกและอธิบายสีคู่ตรงข้ามได้
5.2 สามารถใช้สีคู่ตรงข้ามในการสร้างสรรค์ และถ่ายทอดความคิด อารมณ์เป็นผลงานได้
5.3 มีความใฝ่เรียนรู้ในการเรียนเรื่องสีคู่ตรงข้าม

6. ภาระงาน/ชิ้นงาน
6.1 ใบงาน เรื่องสีคู่ตรงข้าม
6.2 ชิ้นงานสร้างสรรค์การวาดภาพด้วยสีคู่ตรงข้าม

7. การวัดและการประเมินผล
7.2.1 แบบประเมิน ความรู้ความเข้าใจ
7.2.2 แบบประเมินทักษะกระบวนการ
7.2.3 แบบประเมินการสังเกตพฤติกรรมคุณลักษณะที่พึงประสงค์

8. กิจกรรม
ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ
1. ครูให้นักเรียนสังเกตสีในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว แล้วร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการใช้สีในงานทัศนศิลป์ที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกได้
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายความหมายของสีคู่ตรงข้าม ว่าหมายถึงสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ ถ้านำมาวางคู่กันจะทำให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งหรือตัดกัน มี 6 คู่ ดังนี้
- สีเหลืองตรงข้ามกับสีม่วง
- สีเขียวเหลืองตรงข้ามกับสีม่วงแดง
- สีเขียวตรงข้ามกับสีแดง
- สีเขียวน้ำเงินตรงข้ามกับสีส้มแดง
- สีน้ำเงินตรงข้ามกับสีส้ม
- สีม่วงน้ำเงินตรงข้ามกับสีส้มเหลือง
2. ครูสาธิตการนำสีคู่ตรงข้ามนำมาเปรียบเทียบให้นักเรียนดู และอธิบายการสื่อความหมาย ความรู้สึก และอารมณ์ของสีคู่ตรงข้ามที่มีความแตกต่างกัน
3. ครูนำตัวอย่างภาพที่สร้างสรรค์ด้วยสีคู่ตรงข้ามเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักเรียนได้ศึกษาการสร้างสรรค์ภาพด้วยสีคู่ตรงข้าม
4. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากใบงานเรื่องสีคู่ตรงข้าม เพื่อทบทวนความรู้จากเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่อง สีคู่ตรงข้าม ซึ่งอยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีธรรมชาติ เมื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ลักษณะการนำไปใช้สามารถแบ่งปริมาณสีคู่ตรงข้ามในปริมาณ 80% ต่อ 20% และการลดความสดใสด้วยการผสมสีดำหรือสีขาว ให้ผลงานสวยงาม

ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนำ
1. ครู และนักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้เรื่องงานทัศนศิลป์โดยการใช้สีคู่ตรงข้ามให้สวยงาม
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายเทคนิควิธีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยการจัดองค์ประกอบศิลป์ ด้วยสีคู่ตรงข้ามให้สวยงาม
1.1 ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน
1.2 ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ ดังนี้
- การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
- หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
- หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่าง สดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
- หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆ และสีคู่นั้นติดกัน ควร ใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ เพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้
2. ครูสาธิตการสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพศิลปะโดยใช้สีคู่ตรงข้าม ด้วยเทคนิคต่างๆ ให้ นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
3. ครูให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงาน วาดภาพศิลปะโดยใช้สีคู่ตรงข้าม ด้วยเทคนิคต่างๆ ให้ เหมาะสม และสวยงาม
4. ให้นักเรียนนำเสนอผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยสีคู่ตรงข้ามหน้าชั้นเรียน เพื่อให้ เพื่อนได้รับรู้อารมณ์ และความรู้สึกในผลงานที่สร้างสรรค์
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่อง สีคู่ตรงข้าม ในการจัดองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน และการถ่ายทอดความรู้สึกลงผลงานเพื่อให้เกิดความสวยงาม และมีความหมายมากขึ้น

9. ข้อเสนอแนะ/กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสามารถนำหลักการสีคู่ตรงข้ามไปใช้ในการสร้างสรรค์เป็นผลงานประเภทอื่น

10. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
10.1 สื่อการเรียนรู้
- ตัวอย่างแผ่นภาพวงจรสี
- ตัวอย่างสีคู่ตรงข้าม
- ตัวอย่างผลงานที่สร้างจากสีคู่ตรงข้าม
- วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์
- ใบงานที่ 1
- แบบฝึกหัดที 1
10.2 แหล่งเรียนรู้
- ห้องศิลปะ

บันทึกผลหลังสอน
ผลการเรียนรู้
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อสังเกต / ข้อค้นพบ
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
แนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อพัฒนา
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


(ลงชื่อ) .......................................... ผู้จัดกิจกรรม
( นายดุสิต วันวัย )
ตำแหน่ง ผู้สอน

ประวัติส่วนตัว




ชื่อ ดุสิต วันวัย
เพศ ชาย
อายุ 25 ปี
บ้านเลขที่ 225 หมู่ 1 ต.แม่สูน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 50110
จบการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ คณะศิลปศาสตร์และศถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ