วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

แผนจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ศ.16101) ประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พื้นฐานงานศิลป์ เวลา 10 ชั่วโมง
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง สีคู่ตรงข้าม เวลา 2 ชั่วโมง
...........................................................................................................................................................
1. มาตรฐาน
ศ 1.1 สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

2. ตัวชี้วัด
ศ 1.1 ป 6/1 ระบุสีคู่ตรงข้าม และอภิปรายเกี่ยวกับการใช้สีคู่ตรงข้ามในการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์

3. สาระสำคัญ
สีคู่ตรงข้ามในการจัดองค์ประกอบศิลป์

4. สาระการเรียนรู้
สีคู่ตรงข้าม และการสร้างสรรค์โดยใช้สีคูตรงข้าม

5. จุดประสงค์การเรียนรู้
เมื่อนักเรียนเรียนเรื่อง สีคู่ตรงข้ามคืออะไร นักเรียนสามารถ
5.1 บอกและอธิบายสีคู่ตรงข้ามได้
5.2 สามารถใช้สีคู่ตรงข้ามในการสร้างสรรค์ และถ่ายทอดความคิด อารมณ์เป็นผลงานได้
5.3 มีความใฝ่เรียนรู้ในการเรียนเรื่องสีคู่ตรงข้าม

6. ภาระงาน/ชิ้นงาน
6.1 ใบงาน เรื่องสีคู่ตรงข้าม
6.2 ชิ้นงานสร้างสรรค์การวาดภาพด้วยสีคู่ตรงข้าม

7. การวัดและการประเมินผล
7.2.1 แบบประเมิน ความรู้ความเข้าใจ
7.2.2 แบบประเมินทักษะกระบวนการ
7.2.3 แบบประเมินการสังเกตพฤติกรรมคุณลักษณะที่พึงประสงค์

8. กิจกรรม
ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำ
1. ครูให้นักเรียนสังเกตสีในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว แล้วร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับการใช้สีในงานทัศนศิลป์ที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกได้
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายความหมายของสีคู่ตรงข้าม ว่าหมายถึงสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงสีธรรมชาติ ถ้านำมาวางคู่กันจะทำให้เกิดความรู้สึกขัดแย้งหรือตัดกัน มี 6 คู่ ดังนี้
- สีเหลืองตรงข้ามกับสีม่วง
- สีเขียวเหลืองตรงข้ามกับสีม่วงแดง
- สีเขียวตรงข้ามกับสีแดง
- สีเขียวน้ำเงินตรงข้ามกับสีส้มแดง
- สีน้ำเงินตรงข้ามกับสีส้ม
- สีม่วงน้ำเงินตรงข้ามกับสีส้มเหลือง
2. ครูสาธิตการนำสีคู่ตรงข้ามนำมาเปรียบเทียบให้นักเรียนดู และอธิบายการสื่อความหมาย ความรู้สึก และอารมณ์ของสีคู่ตรงข้ามที่มีความแตกต่างกัน
3. ครูนำตัวอย่างภาพที่สร้างสรรค์ด้วยสีคู่ตรงข้ามเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักเรียนได้ศึกษาการสร้างสรรค์ภาพด้วยสีคู่ตรงข้าม
4. ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากใบงานเรื่องสีคู่ตรงข้าม เพื่อทบทวนความรู้จากเรื่องที่เรียน
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่อง สีคู่ตรงข้าม ซึ่งอยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีธรรมชาติ เมื่อนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ ลักษณะการนำไปใช้สามารถแบ่งปริมาณสีคู่ตรงข้ามในปริมาณ 80% ต่อ 20% และการลดความสดใสด้วยการผสมสีดำหรือสีขาว ให้ผลงานสวยงาม

ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนำ
1. ครู และนักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้เรื่องงานทัศนศิลป์โดยการใช้สีคู่ตรงข้ามให้สวยงาม
ขั้นสอน
1. ครูอธิบายเทคนิควิธีในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยการจัดองค์ประกอบศิลป์ ด้วยสีคู่ตรงข้ามให้สวยงาม
1.1 ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน
1.2 ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ ดังนี้
- การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
- หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
- หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่าง สดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
- หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆ และสีคู่นั้นติดกัน ควร ใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ เพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้
2. ครูสาธิตการสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพศิลปะโดยใช้สีคู่ตรงข้าม ด้วยเทคนิคต่างๆ ให้ นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง
3. ครูให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงาน วาดภาพศิลปะโดยใช้สีคู่ตรงข้าม ด้วยเทคนิคต่างๆ ให้ เหมาะสม และสวยงาม
4. ให้นักเรียนนำเสนอผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยสีคู่ตรงข้ามหน้าชั้นเรียน เพื่อให้ เพื่อนได้รับรู้อารมณ์ และความรู้สึกในผลงานที่สร้างสรรค์
ขั้นสรุป
1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเรื่อง สีคู่ตรงข้าม ในการจัดองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน และการถ่ายทอดความรู้สึกลงผลงานเพื่อให้เกิดความสวยงาม และมีความหมายมากขึ้น

9. ข้อเสนอแนะ/กิจกรรมเสนอแนะ
นักเรียนสามารถนำหลักการสีคู่ตรงข้ามไปใช้ในการสร้างสรรค์เป็นผลงานประเภทอื่น

10. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
10.1 สื่อการเรียนรู้
- ตัวอย่างแผ่นภาพวงจรสี
- ตัวอย่างสีคู่ตรงข้าม
- ตัวอย่างผลงานที่สร้างจากสีคู่ตรงข้าม
- วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์
- ใบงานที่ 1
- แบบฝึกหัดที 1
10.2 แหล่งเรียนรู้
- ห้องศิลปะ

บันทึกผลหลังสอน
ผลการเรียนรู้
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อสังเกต / ข้อค้นพบ
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
แนวทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อพัฒนา
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


(ลงชื่อ) .......................................... ผู้จัดกิจกรรม
( นายดุสิต วันวัย )
ตำแหน่ง ผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น